ความเป็นมา

     วัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาครัฐ ได้มีส่วนร่วมในการสร้างเสริม สนับสนุน อีกทั้งเป็นช่องทางในการระดมสมทบทุน เพื่อใช้ในกิจการของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อย่างกว้างขวาง กองทุนพัฒนาศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2560 ตามประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

     สำหรับผู้ที่มีความประสงค์บริจาคเงินสมทบทุนกองทุนพัฒนาศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สามารถติดต่อได้ที่ 0 7567 3064, 0 7567 3052 ฝ่ายการเงินและบัญชี โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หรือ ทางเว็บไซต์ https://hospital.wu.ac.th/fund

    

สารจาก ผู้บริหาร

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์

อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

                   การก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัย   วลัยลักษณ์ ขณะนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่จะเรียนทุกท่านว่า               โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในระยะแรกจะสร้างเสร็จในปี 2562 หลังจากมหาวิทยาลัยได้รับอนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์จากรัฐบาล ซึ่งมีมติรัฐมนตรีเมื่อปี 2563 จำนวน 5,600,000,000 บาท (ห้าพันหกร้อยล้านบาท) ได้ดำเนินการลงมือก่อสร้างกันอย่างจริงจังเมื่อปี 2558 ซึ่งผมมาเป็นอธิการบดีเมื่อปี 2559 ก็ถือว่าเป็นงานใหญ่และเป็นการกิจหลักที่ต้องทำให้สำเร็จลุล่วงโดยได้ตรวจสอบวิธีการทำงานต่างๆเพื่อจะกำจัดปัญหาอุปสรรคทั้งหมด ซึ่งในที่สุดเราก็สามารถชับเคลื่อนการก่อสร้างได้ตามแผนโดยการก่อสร้างในเฟสแรกจะมีอาคารอำนวยการขนาดใหญ่ 1 อาคารและอาคารให้บริการทางการแพทย์ อีก 3 อาคาร มีอาคารพลังงาน 1 อาคาร และมีการตอกเสาเข็มสำหรับอาคารให้บริการทาการแพทย์เพิ่มอีก 1 อาคาร

                   นอกจากนี้ยังมีอาคาร บ้านพักบุคลากร รวมแล้วประมาณ 450 ยูนิตนั้นหมายความว่าสิ้นปีงบประมาณ 2562 โครงการการก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์แพทย์ใน เฟสแรกของเรานี้จะเสร็จสมบูรณ์ปี 2563 และปี 2564 จะดำเนินการเรื่องของงบประมาณ สำหรับ  การตกแต่งภายในและอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์, การพัฒนาระบบการให้บริการกระบวนการทางแพทย์ ซึ่งมีงบประมาณ อยู่ 990 ล้านบาท และตอนนี้เรากำลังทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อจะวิเคราะห์เรื่องอัตรา และส่งให้คณะรัฐมนตรีในการพิจารณาอัตรากำลังบุคลากรของเรา ซึ่งประเด็นสำคัญคือถ้าเราได้รับงบประมาณตามเป้าหมาย ในปลายปี 2563 นี้ เราจะเปิดบริการโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์หลัก      120 เตียง และปี 2565 ก็จะบริการได้ถึง 419 เตียง และต้องถือว่าเป็นการเริ่มต้นโรงพยาบาลขนาดใหญ่เลยทีเดียว ต่อไปเราต้องวางแผนเป็นโรงเรียนแพทย์ ซึ่งเป็นการรองรับการเรียนการสอนด้วยนั้นเอง ในขณะที่ก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ใหญ่เต็มรูปแบบยังไม่เสร็จ เราได้มีการเปิดโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์แบบนำร่องเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 เพื่อให้บุคลากรของเราได้มีการเตรียมตัวให้ แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ได้มีการคุ้นเคย ซึ่งในตอนนี้ได้มีพี่น้องประชาชนเข้ามารับบริการ วันละ ประมาณ 200 – 300 คน นี่ถือว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญเพราะโรงพยาบาลนำร่องเป็นโรงพยาบาลที่เราต้องทำให้ดีที่สุดเพื่อให้ประชาชนและผู้ใช้บริการได้ประทับใจเมื่อเราย้ายขึ้นไปโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์หลัก บุคลากรก็จะมีความพร้อมและความเข้าใจระบบการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

                   โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์หลักจะเป็นการให้บริการแบบ SMART HOSPITAL ซึ่งระบบก็ทำงานด้วยระบบไอทีหมด หรือที่เรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์เป็นโรงพยาบาลที่รัฐบาลเตรียมไว้ให้เป็นโรงพยาบาลที่ก้าวหน้า และทันสมัยที่สุดในการรักษาโรคที่ขับซ้อนหรือที่เรียกว่ โรคตติยภูมิ (Tertiary Care) โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ก้าวหน้าไปตามแผนทุกขั้นตอนและเราได้เปิดให้บริการโรงพยาบาลนำร่อง ได้อย่างสมบูรณ์แบบ